สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

ทำไมขับรถลุยน้ำจึง "ห้ามเร่งเครื่องยนต์" เด็ดขาด?

ทำไมขับรถลุยน้ำจึง "ห้ามเร่งเครื่องยนต์" เด็ดขาด?

ทำไมขับรถลุยน้ำจึง "ห้ามเร่งเครื่องยนต์" เด็ดขาด?

 

หากใครจำเป็นต้องขับรถผ่านพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง คงรู้สึกหวั่นว่ารถจะดับกลางทางหรือไม่ จึงเร่งเครื่องยนต์แบบไม่บันยะบันยังกะว่าจะให้พ้นจุดที่มีน้ำท่วมขังไปอย่างรวดเร็ว แต่รู้ไหมว่าวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่ ”ผิดมหันต์” เพราะเสี่ยงทำเครื่องยนต์พังถึงขั้นต้องผ่าเครื่องกันเลยทีเดียว

 

     การขับรถลุยน้ำย่อมทำให้ผู้ขับขี่รู้สึกเป็นกังวลอยู่เสมอ ยิ่งถ้าขับเดินหน้าไปเรื่อยๆ แล้วกลับพบว่าระดับน้ำเริ่มลึกขึ้น จะไปต่อก็กลัวเครื่องยนต์จะดับ จะถอยหลังกลับก็คงไม่ทันแล้ว หลายคนจึงใช้วิธีเร่งเครื่องยนต์กันแบบสุดแรงเพราะหวังจะช่วยให้เครื่องยนต์ไม่ดับกลางทาง แต่ความจริงแล้วไม่ควรปฏิบัติเช่นนั้นโดยเด็ดขาด

 

สาเหตุที่เครื่องยนต์ดับขณะขับรถลุยน้ำ

     โดยปกติแล้วเครื่องยนต์จะต้องใช้อากาศจำนวนมากสำหรับการจุดระเบิดภายในห้องเครื่อง โดยอากาศจะถูกดูดผ่านหม้อกรองอากาศเพื่อกรองสิ่งสกปรก ก่อนจะเข้าไปยังท่อร่วมไอดีเพื่อจุดระเบิดต่อไป ซึ่งตราบใดที่เครื่องยนต์ยังสามารถดูดอากาศเข้าไปยังห้องเผาไหม้ได้ ก็จะไม่มีทางดับลงดื้อๆ อย่างแน่นอน

 

     แต่หากขับรถลุยน้ำลึกมากๆ จนระดับน้ำสูงขึ้นไปจนถึงระบบกรองอากาศของเครื่องยนต์ ก็จะทำให้น้ำถูกดูดเข้าไปยังห้องเผาไหม้ และทำให้เครื่องยนต์ดับลงโดยทันที ถ้าโชคดีไม่เสียหายมากก็แค่ยกรถเข้าศูนย์เพื่อไล่ความชื้นออกจากเครื่องยนต์ หรือเปลี่ยนหัวเทียนก็อาจจะจบ แต่กรณีที่เร่งเครื่องยนต์อย่างรุนแรงอยู่ด้วยแล้วล่ะก็ อาจส่งผลกระทบร้ายแรงจนถึงขั้นก้านสูบคดหรือหักได้เลย เตรียมเจอค่าซ่อมหลักหมื่นบาทอย่างแน่นอน

 

ระวังแค่ห้องเผาไหม้ยังไม่พอ ต้องระวังระบบไฟด้วย

     นอกเหนือจากความเสี่ยงที่น้ำจะถูกดูดเข้าไปยังห้องเผาไหม้จนทำให้เครื่องยนต์ได้รับความเสียหายแล้วนั้น สิ่งที่น่ากังวลไม่แพ้กันก็คือเรื่องของระบบไฟ ซึ่งกรณีนี้ไม่ได้หมายถึงสายไฟทั่วไป หากแต่เป็นกล่องควบคุมเครื่องยนต์ (Engine Control Unit) หรือกล่องควบคุมระบบไฟฟ้า (Electronic Control Unit) ซึ่งเป็นหัวใจหลักที่จะช่วยให้รถยนต์ทำงานได้ตามปกติ

 

โดยปกติแล้วกล่องควบคุมที่ว่าจะถูกซีลกันน้ำไว้เป็นอย่างดี ติดตั้งอยู่ภายในบริเวณห้องเครื่องยนต์ แต่รถบางคันอาจถูกติดตั้งไว้ในระดับต่ำ ก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะได้รับความเสียหายได้เมื่อขับรถลุยน้ำอย่างรุนแรง

 

การขับรถลุยน้ำต้องใช้ความเร็วต่ำ และไม่เร่งเครื่องยนต์โดยไม่จำเป็น

     การขับรถลุยน้ำอย่างปลอดภัย ระดับน้ำสูงสุดไม่ควรเกินใต้ท้องรถ แต่หากระดับน้ำยังเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ควรรีบปิดแอร์ทันทีเพื่อหยุดการทำงานของพัดลมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายเมื่อโดนน้ำ (หากเป็นรถยุโรปส่วนมาก พัดลมจะไม่หยุดการทำงานลงในทันที แต่จะค่อยๆ หมุนช้าลงจนนิ่งสนิทซึ่งอาจกินเวลานับนาที)

 

     จากนั้นให้ใช้ความเร็วต่ำ เร่งเครื่องยนต์พอให้รถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างช้าๆ เท่านั้น (ความเร็วประมาณ 10-15 กม./ชม. ถือว่าพอเหมาะสำหรับการลุยน้ำลึก) และสามารถหยุดรถได้เมื่อจำเป็น เพราะตราบใดที่น้ำไม่ถูกดูดเข้าเครื่องยนต์ ก็แทบจะไม่มีทางดับกลางอากาศ เพียงแต่ไม่ควรดับเครื่องยนต์ เพราะจะทำให้น้ำย้อนเข้ามาทางท่อไอเสียได้

 

สุดท้ายถ้าเครื่องยนต์ดับ ห้ามสตาร์ทเครื่องยนต์เด็ดขาด

     กรณีปฏิบัติตามข้อแนะนำข้างต้นแล้ว แต่สุดท้ายเครื่องยนต์ก็ยังดับ ห้ามทำการสตาร์ทเครื่องยนต์อย่างเด็ดขาด เพราะน้ำก็จะยิ่งเข้าไปยังเครื่องยนต์จนเกิดความเสียหายตามมา ให้ใช้วิธีลากจูงออกจากพื้นที่น้ำท่วมขัง จากนั้นยกรถไปยังอู่หรือศูนย์บริการเพื่อไล่ความชื้นออกจากเครื่องยนต์ รวมถึงเปลี่ยนชิ้นส่วนหรือของเหลวที่จำเป็นต่อไป

 

     รู้แบบนี้แล้วถ้าจำเป็นต้องลุยน้ำครั้งต่อไป ก็ไม่ควรเร่งเครื่องยนต์โดยไม่จำเป็นอย่างเด็ดขาดด้วยนะครับ

 

Cr..Sanook.com

view